หูเราทำงานอย่างไร

เมื่อมีเสียงเกิดขึ้น ใบหูของเราจะทำหน้าที่รับคลื่นเสียงที่เข้ามาผ่านไปตามรูหูและจะไปกระทบกับแก้วหู (Eardrum) ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ และจะส่งต่อคลื่นเสียงที่ได้รับไปยังหูชั้นกลาง ภายในหูชั้นกลางนั้นจะมีกระดูกสามชิ้นที่เล็กที่สุดในร่างกาย

  • กระดูกค้อน (Malleus)
  • กระดูกทั่ง (Incus)
  • กระดูกโกลน (Stapes)

โดยกระดูกค้อนนั้นจะติดอยู่กับแก้วหู และเมื่อเสียงเดินทางผ่านเข้ามากระทบแก้วหูการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงจะถูกขยายและส่งต่อผ่านกระดูกค้อนและกระดูกทั่ง จากนั้นเมื่อคลื่นเสียงมาถึงกระดูกโกลน กระดูกชิ้นนี้จะทำหน้าที่เหมือนลูกสูบกระทบกับหูชั้นในทำให้เกิดของเหลวภายในหูชั้นในเกิดคลื่นต่อในหูชั้นใน

ส่วนหูชั้นในหรือส่วนของคอเคลีย (Cochlea) ซึ่งมีลักษณะขดอยู่เป็นก้นหอย เมื่อกระดูกโกลนทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านไปยังคอเคลีย ผนังด้านในจะมีเส้นใยรูปร่างคล้ายต้นกกสองถึงสามหมื่นเส้น ขณะที่คลื่นเสียงเดินทางเข้าไปมันจะไปพบกันเส้นใยที่มีคลื่นความถี่เรโซแนนซ์ (Resonant frequency) เดียวกัน ทำให้เกิดพลังงาน เส้นไฟเบอร์เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ส่งสัญญาณไปยังสมองของเราโดยตรง แต่ใกล้ๆกันจะมีอวัยวะส่วนพิเศษที่มีเซลล์ขน (Hair cell) เมื่อเส้นใยเกิดการสั่นเซลล์ขนเหล่านี้จะเคลื่อนไหวและส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังเส้นประสาทของคอเคลียและต่อไปยังสมอง โดยระดับความถี่เสียงที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนในตำแหน่งเฉพาะ และเสียงที่ดังกว่าก็จะทำให้เซลล์ขนเคลื่อนไหวมากกว่า สมองจะทำหน้าที่ตีความข้อมูลดิบที่ถูกส่งไปนี้ ทำให้เราได้ยินเสียงที่เกิดขึ้น ในระดับความดังและความถี่ต่างๆ เราเลยสามารถเพลิดเพลินไปกับเสียงดนตรี หรือฟังบทสนทนากับคนที่เรารักได้